Psychology Fact ข้อควรรู้สุขภาพจิต

โรคกลัวการเข้าสังคม (Social anxiety disorder)

By Mind Expert | 17 July 2022


โรคกลัวการเข้าสังคม คือ โรคชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยมีอาการประหม่า รู้สึกเครียด อึดอัด กังวลใจ เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่มีผู้อื่นมองตนเอง เช่น การพูดคุยกับคนแปลกหน้า  การทำกิจกรรมในที่สาธารณะ หรือนำเสนองานในชั้นเรียน ในที่ประชุม เป็นต้น และมีความกลัวว่าจะถูกคนรอบข้างมองในแง่ลบ กลัวตนเองจะทำเรื่องน่าอาย เรื่องแปลก กลัวการถูกวิพากษ์วิจารณ์ กลัวการทำผิดพลาด
เมื่ออยู่ในสถานการณ์ดังกล่าวผู้ป่วย จะมีอาการ ใจสั่น มือสั่น เสียงสั่น เหงื่อออกมาก ไม่กล้าสบตา ซึ่งเกิดจากความกังวลภายในจิตใจ

สาเหตุของโรคกลัวการเข้าสังคม

· ระบบการทำงานของสมอง ที่มีสารเคมีผิดปกติไป

· ทางพันธุกรรม

· เกิดจากเหตุการณ์เลวร้าย ที่ทำให้เกิดปมในใจ ในวัยเด็ก วัยรุ่น

· วิธีการเลี้ยงดูของครอบครัว พ่อแม่

ลักษณะอาการ

· เป็นกังวลว่าตัวเองจะทำเรื่องที่น่าอาย ให้ผู้อื่นเห็น

· รู้สึกเครียด หรืออาย ประหม่าเมื่อต้องพูดคุยกับคนแปลกหน้า

· รู้สึกกังวลตลอดเวลาว่าคนอื่นจะรู้ ว่ากำลังประหม่า หรือกังวล

· เครียดหรือกังวลล่วงหน้าเมื่อต้องไปอยู่ในสถานการณ์ที่เจอคนมาก

· จะคิดถึงผลลัพธ์แง่ลบที่เลวร้ายเมื่อต้องทำบางอย่างเสมอ

· ชอบทำอะไรคนเดียว หรืออยู่คนเดียว เพราะกังวลการเผชิญหน้ากับบุคคลอื่น

· ไม่ค่อยมีมนุษยสัมพันธ์ สานสัมพันธ์ไม่เก่ง ไม่ค่อยมีเพื่อน

· ไม่กล้าแสดงออก

· วิตกกังวลมากว่าคนอื่นจะคิดอย่างไรกับเรา กลัวถูกนินทาวิพากษ์วิจารณ์ กลัวถูกตัดสิน

การรักษาโรคกลัวสังคม
พบนักจิตวิทยา หรือนักจิตบำบัด เพื่อหาสาเหตุที่มาที่ทำให้เกิดความกังวล โดยมีการรักษาดังนี้

1. รักษาด้วยการทำ cognitive-behavioral therapy (CBT) ซึ่งเป็นการให้คำปรึกษาด้วยการปรับความคิดที่ผิดหรือความคิดลบของผู้ป่วย รู้วิธีควบคุมความวิตกกังวล ผ่อนคลายร่างกาย

2. ฝึกปฏิบัติ จำลองสถานการณ์ เพื่อลดการกลัวการเข้าสังคม และเพิ่มความมั่นใจมากขึ้น

3. รับการบำบัดแบบกลุ่ม การบำบัดแบบกลุ่มจะช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้ทักษะและเทคนิคทางสังคม ในการพูดคุยรับมือกับผู้คนในทางสังคมได้อย่างเหมาะสม การบำบัดแบบกลุ่มจะช่วยให้ผู้ป่วยมีเพื่อน ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว และได้รับการสนับสนุนให้กำลังใจจากเพื่อนผู้ป่วยด้วยกันอีกด้วย

4. การรักษาด้วยยา ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการมาก นักจิตวิทยาจะแนะนำให้พบจิตแพทย์ เพื่อรับยา จิตแพทย์จะจ่ายยาต้านเศร้า ยารักษาโรคซึมเศร้า ยารักษาลดความวิตกกังวล ซึ่งจะช่วยควบคุมอาการวิตกกังวลในสถานการณ์ต่างๆได้ เช่น เมื่อต้องอยู่ต่อหน้าคนจำนวนมาก ต้องทำงานหรือร่วมกิจกรรมในที่สาธารณะ เป็นต้น

More on this Topic
Everyone needs help some time in their life. Lightpost offers the best help when you need it.
Company
Directories
Address
437/7 Phaholyothin 35 Ladprao,
Chatuchak, Bangkok 10900
Mon - Fri 8:00 - 17:00
Sat - Sun (Appointment)
© 2020 Lightpost Counseling. 
Developed by MeCode. All Rights Reserved.