Psychology Fact ข้อควรรู้สุขภาพจิต

โรคกลัวการเข้าสังคม (Social anxiety disorder)

By Mind Expert | 17 July 2022


โรคกลัวการเข้าสังคม คือ โรคชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยมีอาการประหม่า รู้สึกเครียด อึดอัด กังวลใจ เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่มีผู้อื่นมองตนเอง เช่น การพูดคุยกับคนแปลกหน้า  การทำกิจกรรมในที่สาธารณะ หรือนำเสนองานในชั้นเรียน ในที่ประชุม เป็นต้น และมีความกลัวว่าจะถูกคนรอบข้างมองในแง่ลบ กลัวตนเองจะทำเรื่องน่าอาย เรื่องแปลก กลัวการถูกวิพากษ์วิจารณ์ กลัวการทำผิดพลาด
เมื่ออยู่ในสถานการณ์ดังกล่าวผู้ป่วย จะมีอาการ ใจสั่น มือสั่น เสียงสั่น เหงื่อออกมาก ไม่กล้าสบตา ซึ่งเกิดจากความกังวลภายในจิตใจ

สาเหตุของโรคกลัวการเข้าสังคม

· ระบบการทำงานของสมอง ที่มีสารเคมีผิดปกติไป

· ทางพันธุกรรม

· เกิดจากเหตุการณ์เลวร้าย ที่ทำให้เกิดปมในใจ ในวัยเด็ก วัยรุ่น

· วิธีการเลี้ยงดูของครอบครัว พ่อแม่

ลักษณะอาการ

· เป็นกังวลว่าตัวเองจะทำเรื่องที่น่าอาย ให้ผู้อื่นเห็น

· รู้สึกเครียด หรืออาย ประหม่าเมื่อต้องพูดคุยกับคนแปลกหน้า

· รู้สึกกังวลตลอดเวลาว่าคนอื่นจะรู้ ว่ากำลังประหม่า หรือกังวล

· เครียดหรือกังวลล่วงหน้าเมื่อต้องไปอยู่ในสถานการณ์ที่เจอคนมาก

· จะคิดถึงผลลัพธ์แง่ลบที่เลวร้ายเมื่อต้องทำบางอย่างเสมอ

· ชอบทำอะไรคนเดียว หรืออยู่คนเดียว เพราะกังวลการเผชิญหน้ากับบุคคลอื่น

· ไม่ค่อยมีมนุษยสัมพันธ์ สานสัมพันธ์ไม่เก่ง ไม่ค่อยมีเพื่อน

· ไม่กล้าแสดงออก

· วิตกกังวลมากว่าคนอื่นจะคิดอย่างไรกับเรา กลัวถูกนินทาวิพากษ์วิจารณ์ กลัวถูกตัดสิน

การรักษาโรคกลัวสังคม
พบนักจิตวิทยา หรือนักจิตบำบัด เพื่อหาสาเหตุที่มาที่ทำให้เกิดความกังวล โดยมีการรักษาดังนี้

1. รักษาด้วยการทำ cognitive-behavioral therapy (CBT) ซึ่งเป็นการให้คำปรึกษาด้วยการปรับความคิดที่ผิดหรือความคิดลบของผู้ป่วย รู้วิธีควบคุมความวิตกกังวล ผ่อนคลายร่างกาย

2. ฝึกปฏิบัติ จำลองสถานการณ์ เพื่อลดการกลัวการเข้าสังคม และเพิ่มความมั่นใจมากขึ้น

3. รับการบำบัดแบบกลุ่ม การบำบัดแบบกลุ่มจะช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้ทักษะและเทคนิคทางสังคม ในการพูดคุยรับมือกับผู้คนในทางสังคมได้อย่างเหมาะสม การบำบัดแบบกลุ่มจะช่วยให้ผู้ป่วยมีเพื่อน ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว และได้รับการสนับสนุนให้กำลังใจจากเพื่อนผู้ป่วยด้วยกันอีกด้วย

4. การรักษาด้วยยา ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการมาก นักจิตวิทยาจะแนะนำให้พบจิตแพทย์ เพื่อรับยา จิตแพทย์จะจ่ายยาต้านเศร้า ยารักษาโรคซึมเศร้า ยารักษาลดความวิตกกังวล ซึ่งจะช่วยควบคุมอาการวิตกกังวลในสถานการณ์ต่างๆได้ เช่น เมื่อต้องอยู่ต่อหน้าคนจำนวนมาก ต้องทำงานหรือร่วมกิจกรรมในที่สาธารณะ เป็นต้น

บทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวข้อนี้
บางทีเราอาจจะแค่มีเรื่องที่อยากคุยกับใครบางคน ที่ไลท์โพสต์ เราต้องการให้ความช่วยเหลือให้เหมาะกับสถานการณ์ของคุณ
Company
Directories
ข้อมูลสำหรับติดต่อ
437/7 ซอย พหลโยธิน 35 แยก 5-2
แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
จันทร์ - ศุกร์ เวลา 8:00 - 17:00
เสาร์ - อาทิตย์ (นัดหมายล่วงหน้า)
© 2020 Lightpost Counseling. Developed by MeCode. All Rights Reserved.