Psychology Fact ข้อควรรู้สุขภาพจิต

โรคหลายบุคลิก (Dissociative Identity Disorder – DID)

By Mind Expert | 20 August 2022

หลายๆคนอาจจะยังไม่คุ้นเคยหรือรู้จักเกี่ยวกับโรคหลายอัตลักษณ์ หรือโรคหลายบุคลิก (Dissociative Identity Disorder – DID) ที่มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Multiple Personality Disorder เป็นหนึ่งในโรคจิตเวชที่ถูกจัดอยู่ในประเภท Dissociative disorders วันนี้เราจะพามารู้จักกับโรคหลายบุคลิกให้มากขึ้น

โรคหลายบุคลิกคืออะไร

โรคหลายบุคลิกนั้น เป็นโรคทางจิตเวชรูปแบบหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยมีอัตลักษณ์หรือบุคลิกมากกว่าหนึ่งคนขึ้นไปซึ่งจะสลับสับเปลี่ยนไปมาในตนเอง โดยระบบความจำ การรับรู้ ความคิด ความทรงจำ หายไปชั่วขณะ ผู้ป่วยโรคหลายบุคลิก จะจำเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่สามารถจดจำตนเองได้เมื่อบุคลิกหนึ่งปรากฏออกมาแทนที่ โดยผู้ป่วยโรคหลายบุคลิก จะดึงบุคลิกภาพที่แตกต่างกันเหล่านั้นออกมาสลับกันมีบทบาทในโลกภายนอก  ไม่ว่าจะเป็น เพศ อายุ ลักษณะนิสัย น้ำเสียงในการพูด ที่แตกต่างกันอย่างกัน

สาเหตุของโรคหลายบุคลิก

มักเกิดจากการได้รับความกระทบกระเทือนทางร่างกายหรือจิตใจอย่างรุนแรง อย่างการถูกทำร้ายร่างกาย การถูกล่วงละเมิดทางเพศในวัยเด็ก  นอกจากนี้อาจเกิดขึ้นหลังการประสบเหตุการณ์ร้ายแรง เช่น อุบัติเหตุ ภัยพิบัติ การจากไปของคนในครอบครัว หรือการถูกทอดทิ้งเป็นระยะเวลานาน สมองจึงสร้างกลไกป้องกันตัวเองโดยเปลี่ยนเป็นอีกบุคลิกหนึ่งเพื่อตัดขาดหรือหลีกหนีจากความทรงจำและตัวตนเดิมที่สร้างความเจ็บปวดทั้งร่างกายและจิตใจ

การรักษาโรคหลายบุคลิก

วิธีการรักษาอาจแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับอาการ ความรุนแรง และปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการของผู้ป่วย โดยใช้หลากหลายวิธีผสมผสานกัน เช่น การทำจิตบำบัด (Psychotherapy) เป็นวิธีการรักษาหลักของโรคหลายบุคลิก จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาจะพูดคุยเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วยและช่วยให้ผู้ป่วยได้พูดเกี่ยวกับความทรงจำอันเลวร้ายรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย โดยผ่านการบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy) ที่เน้นให้เข้าใจสาเหตุ พร้อมกำหนดเป้าหมายในการบำบัดรูปแบบความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรม หรือการบำบัดในรูปแบบอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น จิตบำบัดแบบอีเอ็มดีอาร์ (Eye Movement Desensitization and Reprocessing Therapy) พฤติกรรมบำบัด ครอบครัวบําบัด สมาธิบำบัด สะกดจิตบำบัด ดนตรีบำบัด เป็นต้น นอกจากนี้การใช้ยาก็เป็นส่วนหนึ่งที่ใช้รักษาตามอาการ เนื่องจากไม่มียาที่รักษาโรคหลายบุคลิกได้โดยตรง แต่หากผู้ป่วยมีอาการอื่นที่เกี่ยวข้อง อย่างอาการวิตกกังวลหรือซึมเศร้า ผู้ป่วยอาจได้รับยาต้านเศร้า (Antidepressant) ยารักษาโรควิตกกังวล หรือยาต้านอาการทางจิตอื่นๆ (Antipsychotic Drug) ตามดุลยพินิจของแพทย์

บทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวข้อนี้
บางทีเราอาจจะแค่มีเรื่องที่อยากคุยกับใครบางคน ที่ไลท์โพสต์ เราต้องการให้ความช่วยเหลือให้เหมาะกับสถานการณ์ของคุณ
Company
Directories
ข้อมูลสำหรับติดต่อ
437/7 ซอย พหลโยธิน 35 แยก 5-2
แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
จันทร์ - ศุกร์ เวลา 8:00 - 17:00
เสาร์ - อาทิตย์ (นัดหมายล่วงหน้า)
© 2020 Lightpost Counseling. Developed by MeCode. All Rights Reserved.