สมาธิเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพในชีวิตแต่ละคน ถ้าสมาธิของคนเราบกพร่อง ย่อมส่งผลต่อการใช้ชีวิตในการเรียน ความสัมพันธ์กับผู้อื่น การทำงาน รวมทั้งการใช้ชีวิตประจำวัน
ADHD พบในเด็กประมาณ 8-12% ของเด็กทั้งโลก
ในปัจจุบันสาเหตุยังไม่พบแน่ชัด แต่จากการรวบรวมข้อมูล จากผู้ที่เป็น ADHD ก็จะมาจากกรรมพันธุ์, สิ่งแวดล้อมจากการเลี้ยงดู, การทำงานของสมองและสารสื่อประสาทที่บกพร่อง จะมี 2 ลักษณะ คือ ADD และ ADHD
ซึ่ง ADD จะมีลักษณะเช่นเดียวกับ ADHD แต่จะไม่มีอาการซุกซน (HYPER ACTIVE ) จะทำให้สังเกตได้ยาก อาจจะทำให้พ่อแม่มองข้ามปัญหา และอาจจะไม่ได้ช่วยเหลือเด็ก แต่เนื่องจากส่วนมากเด็กจะถูกนำไปรักษา เมื่อมีการเรียนตกต่ำหรือมีปัญหาพฤติกรรม แต่บางครั้งเด็กก็ซนไปตามวัยก็ต้องสังเกตให้ดีด้วย
DSM V ได้กำหนดลักษณะอาการของโรคสมาธิสั้น ไว้ดังนี้
ก. จะมีลักษณะต่อเนื่องในการไม่มีสมาธิ และ/หรือ มีพฤติกรรมซุกซน
1. การไม่มีสมาธิต้องมีอาการ 6 อย่างหรือมากกว่านั้นและต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน ส่งผลเสียต่อการเรียน การเข้าสังคม และการทำงาน แต่สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 17 ปีขึ้นไป ต้องมีอาการอย่างน้อย 5 อย่าง
1.1. ไม่สามารถมีสมาธิกับรายละเอียด หรือทำสิ่งผิดพลาดอย่างสะเพร่าที่โรงเรียน,ที่ทำงาน
1.2. ไม่สามารถรักษาสมาธิในภาระหน้าที่หรือกิจกรรมที่ต้องทำ เช่น การจดบันทึก,การสนทนาหรือการอ่านหนังสือที่ใช้เวลานาน เป็นต้น
1.3. เป็นบ่อยๆที่ดูเหมือนไม่ตั้งใจฟัง เมื่อมีคนพูดด้วย
1.4. เป็นบ่อยๆที่ไม่ทำตามข้อกำหนดตามการเรียนการสอนได้ และทำการบ้านไม่เสร็จ หรือสูญเสียจุดสนใจในการปฎิบัติหน้าที่ได้ง่าย
1.5. เป็นบ่อยๆในการที่จะไม่สามารถจัดการภาระหน้าที่และกิจกรรมได้ เช่น เก็บอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบ, การทำงานดูไม่มีการวางแผนการจัดการ, ไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนด เป็นต้น
1.6. เป็นบ่อยที่หลีกเลี่ยง, ไม่ชอบหรือลังเลที่จะไปร่วมมือในการทำงานที่ต้องใช้สมาธิและความตั้งใจ
1.7. เป็นบ่อยที่ทำสิ่งของหาย เช่น สมุด, ยางลบ, ดินสอ, กุญแจ เป็นต้น
1.8. เป็นบ่อยที่จะถูกรบกวนโดยสิ่งเร้าอื่นที่เข้ามาในขณะที่ทำบางสิ่งบางอย่างอยู่ (กรณีผู้ใหญ่จะรวมถึงความคิดที่ดูไม่สอดคล้องสัมพันธ์กัน)
1.9. เป็นบ่อยๆที่จะลืมทำในสิ่งที่ต้องทำประจำวัน เช่น ลืมจ่ายเงิน, ลืมโทรกลับ, ลืมนัด เป็นต้น
2. พฤติกรรมซุกซน ไม่อยู่นิ่ง ต้องมีอาการ 6 อย่าง หรือมากกว่านั้นและต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน ส่งผลเสียต่อการเรียน การเข้าสังคม และการทำงาน แต่สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 17 ปีขึ้นไป ต้องมีอาการอย่างน้อย 5 อย่าง
2.1. เป็นบ่อยที่มือและเท้าไม่อยู่นิ่งๆ
2.2. เป็นบ่อยที่ไม่สามารถนั่งอยู่กับที่ได้
2.3. เป็นบ่อยที่จะวิ่ง ปีนป่าย ในสถานการณ์ที่ไม่ควรทำเช่นนั้น (ถ้าในผู้ใหญ่ก็จะไม่หยุดพัก คนอื่นก็จะทำตามไม่ทัน เพราะจะทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ตลอดเวลา)
2.4. เป็นบ่อยที่ไม่สามารถเล่นกิจกรรมที่ผ่อนคลาย แบบเงียบๆได้
2.5. เป็นบ่อยที่การกระทำต้องไปต่อเรื่อยๆราวกับติดเครื่องยนต์ไว้ หยุดไม่ได้
2.6. เป็นบ่อยที่พูดไม่หยุด
2.7. เป็นบ่อยที่จะตอบโพล่งออกมาก่อนที่คำถามจบสมบูรณ์
2.8. เป็นบ่อยที่จะคอยถึงลำดับคิวตัวเองไม่ได้
2.9. เป็นบ่อยที่จะขัดจังหวะหรือไปรุกล้ำขอบเขตของคนอื่น เช่น ในการสนทนา, ในการเล่นเกมส์, ในการทำกิจกรรมเป็นต้น
ข. ลักษณะอาการหลายอย่างจะปรากฎชัดในขณะอายุ 12 ปี
ค. ลักษณะอาการหลายอย่างจะปรากฎให้เห็นมากกว่า 2 สถานที่ เช่น ที่บ้าน, ที่โรงเรียน และที่ทำงาน เป็นต้น
ง. เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าอาการที่มีอยู่ได้รบกวน หรือลดคุณภาพในด้านสังคม การศึกษา และอาชีพ
จ. อาการที่เกิดขึ้น ไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นจิตเภท หรือสภาพจิตผิดปกติอื่นๆ
ผลที่เกิดขึ้นกับคนที่เป็น
1. ปัญหาพฤติกรรม
จะเป็นคนก้าวร้าว ดื้อ หงุดหงิด โมโหง่าย และ ไม่ปฎิบัติตามกฎระเบียบ
2. ปัญหาทางจิตใจ
· กลัวถูกตำนิ เพราะเรียนไม่ดี
· กลัวถูกลงโทษ
· กลัวสอบตก
· กังวลใจว่าจะล้มเหลว
3. ปัญหาความสัมพันธ์
คนอื่นๆก็จะไม่อยากคบด้วย เพราะใจร้อน ไม่อดทน ไม่ปฎิบัติตามกฎกติกา หรือชอบพูดโผงผาง
วิธีการช่วยเหลือโดยพ่อแม่
1. ปรับพฤติกรรม
โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ฝึกการควบคุมตนเอง และการปฎิบัติตามระเบียบวินัย
1.1. กำหนดเวลาที่ชัดเจน เป็นการตกลงร่วมกัน เช่น เวลาเล่น, ดูทีวี,ทำการบ้าน
1.2. มอบหมายหน้าที่ให้ลูกรับผิดชอบ ในการช่วยงานบ้านแต่ละวัน
1.3. การแบ่งเวลาในแต่ช่วง อย่าให้นานมาก
1.4. เมื่อลูกทำได้ก็ชมเชยให้กำลังใจ
1.5. ควรช่วยลูกในการทำการบ้าน และทำในห้องที่เงียบๆ ไม่มีเสียงรบกวน และบนโต๊ะไม่ควรมีของเล่น ควรเป็นโต๊ะโล่งๆ และให้ลูกเข้าห้องน้ำ ดื่มน้ำ ให้เรียบร้อยก่อน
1.6. ฝึกลูกในการทำสมาธิลมหายใจ เริ่ม 5 นาทีก่อน ฝึกทุกวัน ค่อยๆเพิ่มขึ้น หรือต่อรูปภาพ เพื่อฝึกสมาธิ
1.7. การสื่อสารกับลูก ต้องง่าย สั้น ชัดเจน
1.8. อนุญาตให้ลูกได้ระบายอารมณ์โกรธอย่างเหมาะสม
2. ฝึกทักษะการเข้าสังคม
2.1. ให้ลูกเข้าร่วมกิจกรรมกับคนอื่น โดยเป็นแบบคู่ หรือ กลุ่มเล็กๆ เพื่อจะได้ฝึกการอยู่ร่วมกับคนอื่นตามกฎของกิจกรรมนั้นๆ
2.2. ฝึกลูกในการสื่อสาร เช่น การสบตา, การอยู่นิ่ง การรอจังหวะ ไม่พูดแทรก เป็นต้น
3. ส่งเสริมลูกในการทำกิจกรรมที่เขาชอบ เช่น เล่นดนตรี, วาดรูป,เล่นกีฬา จะช่วยฝึกสมาธิและการเข้าสังคม
4. ประสานความร่วมมือกับครูที่โรงเรียน ปรึกษาครูให้ช่วยดูแลเพื่อให้ลูกพัฒนาได้อย่างเหมาะสม
5. ช่วยเหลือลูกที่รู้สึกแย่กับตัวเอง
5.1. ให้กำลังใจในสิ่งที่เขาจะทำ และให้ความมั่นใจเขา
5.2. กระตุ้นให้เห็นว่าเมื่อผิดพลาดก็แก้ไขได้
5.3. ให้ลูกดูแลสุขภาพ ฝึกลูกในการรับประทานอาหารของตนเอง
5.4. ให้คำชมเชย และพูดถึงสิ่งดีในตัวเขา
5.5. ให้ลูกได้มีโอกาสแสดงความสามารถของเขา
5.6. ให้ความรู้เกี่ยวการมองตนเองในแง่ลบ
การรักษาทางยา
การใช้ยาต้องอยู่ในดุลยพินิจของจิตแพทย์ ยาจะไปช่วยปรับระดับสารเคมีในสมองให้สมดุล ช่วยให้เด็กมีสมาธิดีขึ้น และลดอาการไม่อยู่นิ่ง ลดการหุนหันพันแล่น กลุ่มยาที่ใช้จะเป็น เมททิลเฟมิเดท (METHYLPHENIDATE หรือ MPH) ซึ่งรู้จักในชื่อการค้าว่า ริทาลิน (RITALIN) หรือ รูบิเฟน (RUBIFEN)
การรักษาแบบผสมผสาน (Multimodal therapy) ด้วยการใช้ยาและพฤติกรรมบำบัด
ข้อดีของการใช้ยา |
ข้อดีของพฤติกรรมบำบัด
(ซึ่งยาไม่สามารถช่วยได้) |
1.
ยาช่วยลดอาการเคลื่อนไหวซุกซน เด็กจะนิ่งอยู่กับที่ได้นานขึ้น ลดการเต้นไปมา |
1.
ทำให้มีพฤติกรรมดีขึ้น พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง สอนให้ลูกรู้จักคิดโดยใช้เหตุผล |
2.ยาช่วยให้เด็กมีสมาธิยาวขึ้น เด็กจะตั้งใจเรียน/ทำงานได้นานขึ้น สามารถทำงานได้ถูกต้องมากขึ้น สามารถฟังคนอื่นได้นานขึ้น |
2.
สอนให้รู้จักควบคุมตนเอง รู้จักควบคุมอารมณ์โกรธ รู้จักวิธีการแสดงอารมณ์อย่างเหมาะสม สอนให้เด็กรู้จักวิธีจัดการกับความกดดันตึงเครียด ทำให้เด็กมีความสุขมากขึ้น |
3.
ยาช่วยลดอาการหุนหัน สามารถปฎิบัติตามกฎกติกาได้มากขึ้น ช่วยให้รู้จักคิดก่อนทำ สามารถยับยั้งชั่งใจได้ดีขึ้น |
3.
สอนให้รู้จักทักษะต่างๆ ทักษะการเข้าสังคม สอนวิธีสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น สอนการบ้าน สอนให้รู้จักระเบียบ กฎกติกา |
4.
ยาช่วยลดการโต้ตอบ ลดอาการก้าวร้าว ช่วยให้สงบมากขึ้น |
4.
ช่วยกระตุ้นแรงจูงใจ ช่วยให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ดึงความสามารถพิเศษในตัวมาใช้ เช่น
เรื่องดนตรี, กีฬา,
ศิลปิน |
อ้างอิง