Psychology Fact ข้อควรรู้สุขภาพจิต

โรควิตกกังวล (Generalised Anxiety Disorder)

By Mind Expert | 01 January 2021

ปกติคนเราจะมีความวิตกกังวลอยู่ระดับหนึ่งอยู่แล้ว ที่จะมีความรู้สึกว้าวุ่นใจไม่สงบ ครุ่นคิดเรื่องที่ยังหาทางออกไม่ได้ แต่ก็สามารถควบคุมได้ ไม่ปล่อยให้ใจฟุ่งซ่าน สามารถใช้ชีวิตปกติได้ แต่สิ่งนี้ก็จะผลักดันให้เรากระตือรือล้นขึ้น เช่น งานจะเสร็จทันไหม ลูกเรียนอะไรดี จะซื้อของที่ไหนที่ช่วยประหยัด เป็นต้น แต่ถ้ามีมากเกินไปจนเราควบคุมไม่ได้ จนกลายเป็นความกลัว (PHOBIA) หรือมีอาการตื่นตระหนก (PANIC) ร่วมด้วย จนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน การทำงาน และความสัมพันธ์กับคนอื่น โรคในกลุ่มของความกังวลใจมีหลายโรค เช่น โรคกลัวการเข้าสังคม (SOCIAL ANXIETY DISORDER) โรคกลัวการอยู่ในสถานการณ์บางสถานที่ (AGORAPHGOBIA  DISORDER) โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-Compulsive Disorder-OCD)โรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ (Post-Trauma Stress Disorder-PTSD) เป็นต้น

อาการ

1. มีความวิตกกังวลมากเกิดขึ้นอย่างน้อย 6 เดือน ในหลายๆเหตุการณ์ไม่ว่าจะเป็นที่โรงเรียน ที่ทำงาน ความสัมพันธ์กับคนอื่น หรือการร่วมทำกิจกรรมต่างๆ

2. รู้สึกยากในการที่จะควบคุมความวิตกกังวล

2. มีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 3 อย่าง (ถ้าผู้ป่วยเป็นเด็กมีอาการอย่างน้อย 1 อย่าง)

-  กระวนกระวายใจ

-  เหนื่อยง่าย

-  ขาดสมาธิ

-  หงุดหงิดง่าย

-  ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

-  นอนไม่หลับ

4. ความวิตกกังวลหรืออาการที่เกิดขึ้นทางร่างกาย ส่งผลให้เกิดความทุกข์ หรือการด้อยค่าในการเข้าสังคม อาชีพ หรือการทำงานในด้านอื่นๆ

5. อาการที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากการใช้สิ่งเสพติด หรือ มาจากการใช้ยารักษาโรค

6. การวิตกกังวลนี้ไม่ได้เป็นลักษณะอาการเฉพาะ ตามโรควิตกกังวลอื่น เช่น โรคกลัวเข้าสังคม,โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคกลัว,บางสถานที่ เป็นต้น

สาเหตุ

1. พันธุกรรม

มาจากยีนส์ของพ่อแม่ แล้วถ่ายทอดลงมาสู่ลูก ทำให้ลูกมีอาการของโลกวิตกกังวล

2. การเลี้ยงดู

การที่พ่อแม่ดูแลแบบเข้มงวด เจ้าระเบียบ เป็นคนสมบูรณ์แบบ จะสร้างความกังวลใจให้กับเด็ก ที่ต้องทำทุกอย่างออกมาให้ดี และเมื่อยังทำได้ไม่ดี ก็จะเกิดความไม่มั่นใจ และกังวลใจ หรือเมื่อเด็กมั่นใจคิดว่าทำดีแล้ว แต่พ่อแม่ก็ยังไม่พอใจอยู่ดี ก็จะมีความกังวลใจในการกระทำครั้งต่อไป

3. เหตุการณ์

สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ที่เขาเผชิญกับเหตุการณ์ที่น่ากลัวและเป็นอันตรายก็จะเกิดการเรียนรู้ และเกิดการฝังใจจดจำสิ่งนั้น ที่ส่งผลต่อความคิดและพฤติกรรม เช่น พ่อ แม่ ลืมมารับที่โรงเรียน เพื่อนๆกลับหมดแล้ว ต้องอยู่คนเดียว ก็อาจจะเกิดความกังวลใจว่าครั้งหน้าพ่อ แม่ จะลืมมารับ เขาอีกไหม เป็นต้น

4. สารเคมีในสมอง

สมองคนเราจะมีสารเคมีที่สมดุลที่ช่วยให้ความคิดเป็นปกติ อาจจะมีความกังวลใจบ้างเป็นปกติ เพราะไม่ถึงกับวิตกจริต แต่ถ้าสารเคมีไม่สมดุล ก็จะทำให้วิธีคิดเปลี่ยนไป จะคิดแบบไม่มีเหตุผลเพียงพอ แต่ก็จะมีความกังวลใจมากเกินปกติ

จากสถิติจะพบประมาณร้อยละ 3-5 ของประชากรทั่วไป และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเป็นอัตราส่วน 2 : 1

วิธีการรักษา

1. ทำจิตบำบัด โดยใช้ COGNITIVE BEHAVIOR THERAPY (CBT)

ที่นักจิตจะช่วยผู้ป่วยในการปรับความคิดให้คิดถูกต้องตามหลักเหตุผล   และป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยอยู่ในความวิตกกังวลเกินความเป็นจริง และสามารถลดความกังวลใจที่เกิดขึ้นได้  สามารถใช้ชีวิตในการเรียน การทำงาน ความสัมพันธ์ได้อย่างปกติ และสามารถจัดการกับความขัดแย้งภายในจิตใจที่เกิดขึ้น เมื่อมีความกังวัลใจ รวมทั้งสามารถจัดการกับสถานการณ์ต่างๆได้ดี และจะเรียนรู้เทคนิคที่จะผ่อนคลายตนเองในขณะที่เผชิญกับความกังวลใจ

การทำจิตบำบัดต้องเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง จะค่อยๆ ปรับเปลี่ยนวิธิคิดจากเดิมให้คิดแบบใหม่ที่ตรงตามความเป็นจริง และปรับพฤติกรรมที่เกิดขึ้น เมื่อมีความกังวลใจเกิดขึ้น ให้เป็นพฤติกรรมใหม่ที่สามารถใข้ชีวิตปกติ  และผู้ที่เป็นโรควิตกกังวล ต้องมีความตั้งใจและทุ่มเทกำลังเต็มที่ที่จะต่อสู้กับความกังวลใจแบบไม่ย้อมแพ้

2. การรักษาด้วยยา

ยาคลายกังวล เช่น LORAZEPAM ไม่ควรใช้ติดต่อเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้ติดยาได้

กรณีศึกษาคนเป็นโรควิตกกังวล

บ๊อบอายุ 35 ปี เป็นผู้ช่วยฝ่ายธุรการ เขามีความรู้สึกตลอดว่า วันหนึ่งเขาจะก้าวพลาดตกลงมา (ทำงานผิดพลาด) ตั้งแต่มาทำงานที่บริษัท 5-6 ปีแล้ว หัวหน้าของบ๊อบเป็นคนที่มีความมุ่งมั่นในงานมาก จะบอกบ๊อบบ่อยๆว่า เขาพอใจในการทำงานของบ๊อบ บ๊อบรู้สึกกดดันทุกๆวันในการทำงาน เขามีปัญหาในการใช้สมาธิในการทำงานและในเวลากลางคืน เขารู้สึกหมดแรงและนอนไม่หลับ เขารู้สึกหงุดหงิดบ่อยๆที่บ้าน เมื่อหงุดหงิดจะตะโกนดุลูกๆ แต่เขาไม่เคยมีอาการตื่นตระหนก เขาคิดว่าเขาไม่ได้เป็นซึมเศร้า เขายังมีความสุขในวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ ในการพักผ่อนอยู่กับบ้าน ดูTV และอ่านหนังสือ ภรรยาเห็นเขาหงุดหงิดเรื่องลูกเลยพาลูกไปอยู่บ้านแม่ 1-2 อาทิตย์ เพื่อเขาจะได้ผ่อนคลาย แต่บ๊อบกลับรู้สึกว่าเขาเป็นสามีที่ไม่ดี ซึ่งวันหนึ่งเธอก็อาจจะขอเลิกกับเขา

บ๊อบมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เขาเป็นคนแต่งตัวดี มีคำพูดที่ชัดถ้อยชัดคำ เขาไม่มีภาพหลอนหูแว่ว เขาไม่เป็นคนจู้จี้ เขาเริ่มดื่มเหล้า เพื่อเขาจะได้ผ่อนคลายแต่ก็กังวลใจกลัวจะติดเหล้า

วิเคราะห์จากอาการของบ๊อบที่เขาเป็น

1. ขาดสมาธิ

2. นอนไม่หลับ

3. หงุดหงิดง่าย

4. มีระยะเวลาเกิน 6 เดือน

จึงถือว่าเป็นโรควิตกกังวล อาการหมดแรงก็ยังไม่ชัดว่าเป็นลักษณะอาการเหนื่อยง่าย หรือปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อาจจะต้องสอบถามรายละเอียดมากขึ้น

อ้างอิง

  • AMERICAN PSYCHIATRIC ASSOCIATION (2556),  DIAGNOSTIC AND STATISTICAL MANUAL OF MENTAL DISORDER FIFTH EDITION DSM-5 Fifth Edition, Washington, DC, USA : American Psychiatric Publishing
  • Irwin G. Sarason and Barbara R. Sarason (2549), ABNORMAL PSYCHOLOGY The Problem of Maladaptive Behavior Eighth Edition, New Jercy, USA: Prentice Hall
  • Arthur E. Jongsma, Jr., and L. Mark Peterson (2542), The Complete Adult Psychotherapy Treatment Planner, New York, USA: John Wiley & Sons, Inc
  • James Morrison, M.D. (2538), DSM-IV Made Easy The Clinician’s Guide to Diagnosis, New York, USA: The Guilford Press
บทความอื่นๆเกี่ยวกับหัวข้อนี้
บางทีเราอาจจะแค่มีเรื่องที่อยากคุยกับใครบางคน ที่ไลท์โพสต์ เราต้องการให้ความช่วยเหลือให้เหมาะกับสถานการณ์ของคุณ
Company
Directories
ข้อมูลสำหรับติดต่อ
437/7 ซอย พหลโยธิน 35 แยก 5-2
แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
จันทร์ - ศุกร์ เวลา 8:00 - 17:00
เสาร์ - อาทิตย์ (นัดหมายล่วงหน้า)
© 2020 Lightpost Counseling. Developed by MeCode. All Rights Reserved.