การคุกคาม คือ พฤติกรรมที่ผู้ถูกกระทำหรือผู้ที่ตกเป็นเหยื่อถือว่าเป็นสิ่งที่ "ไม่พึงปรารถนา" และ "ไม่ต้องการ" ในรูปแบบวาจา กิริยา ท่าทาง การจับต้องร่างกาย และสิ่งแวดล้อมหากมีการคุกคามบ่อยครั้งจะเป็นการยกระดับไปสู่การข่มเหงรังแก
ลักษณะพฤติกรรมของการคุกคามหรือการบูลลี่ประเภทต่างๆ มีด้วยกันหลายรูปแบบดังนี้
การคุกคามทางวาจา หรือการกลั่นแกล้งทางวาจา เช่น การสื่อสาร เขียน เพื่อสื่อความหมายกลั่นแกล้ง เช่น ล้อเล่น, เรียกชื่อ, แสดงความคิดเห็นทางเพศที่ไม่เหมาะสม, เหน็บแนม และขู่ว่าจะทำอันตราย ,การวิจารณ์รูปร่างหน้าตา การแต่งตัว,การเปลี่ยนหัวข้อเรื่องงานให้เป็นเรื่องทางเพศ ,ต่อว่าในเรื่องทางเพศหรือเพศสภาพ ,การนินทาเรื่องเพศ เป็นต้น
การคุกคามกลั่นแกล้งทางสังคม คือ วิธีการทำให้เสียหน้า หรือแกล้งให้สูญเสียความสัมพันธ์กับผู้อื่น อย่างตั้งใจ เช่น ขับเพื่อนออกจากกลุ่ม, กระจายข่าวลือให้เสียหาย, กีดกันไม่ให้เป็นเพื่อนกัน ,ทำให้เกิดความอับอายในที่สาธารณะ เป็นต้น
การคุกคามทางกายภาพ คือ การกลั่นแกล้งที่เกี่ยวข้องกับร่างกายและสวัสดิภาพของผู้ถูกกลั่นแกล้ง เช่น การทุบตี ทำร้าย แย่งสิ่งของ แสดงออกทำท่าทางหยาบคายใส่ แตะเนื้อตัว จับเสื้อผ้า การนั่งใกล้ชิดเกินความจำเป็น เป็นต้น
การคุกคามโดยการแสดงท่าทาง เช่น โดยการจ้องมอง การมองร่างกายอย่างสำรวจตรวจตรา
การคุกคามผ่านช่องทางการสื่อสาร ส่งภาพหรือข้อความแชทเรื่องทางเพศ แอบถ่ายภาพอย่างไม่เหมาะสม
วิธีรับมือ
1.ใช้ “สติ” ในการรับมือ เลี่ยงการโต้ตอบด้วยความรุนแรง หากถูกบูลลี่ทางโซเชียล ไม่ตอบสนองต่อการกลั่นแกล้งด้วยวิธีเดียวกัน เพราะจะยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลง
2. ขอความช่วยเหลือ สามารถตะโกนหรือส่งสัญญาณ ขอให้คนช่วยเหลือ หากอยู่ในสถานที่ต่างๆ เช่นที่ทำงาน หรือที่สาธารณะ
3. เผชิญหน้ากับการคุกคามโดยการสื่อสาร ให้หยุดการกระทำดังกล่าว หรือให้ผู้อื่นช่วยสื่อสาร
4.เก็บหลักฐาน เพื่อ ชี้แจ้งรายงานต่อหัวหน้าสายงาน โดยแสดงรายละเอียด ใคร ทำอะไร ที่ไหน และเวลา เท่าไหร่ แล้วทำสำเนาเก็บไว้
5.เรียนรู้ วิธีการป้องกันตนเองทางกายในสถานการณ์ต่างๆเช่นการรับมือเมื่อถูกทำร้ายทางร่างกาย ด้วยท่าป้องกันตัวท่าต่างๆ
6.หาความช่วยเหลือจากผู้ที่ไว้วางใจเพื่อขอกำลังใจ หรือปรึกษานักจิตวิทยาให้คำปรึกษาเพื่อดูแลจิตใจ